โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร ป้องกันอย่างไร

0
804

โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร ป้องกันอย่างไร

โรคหัวใจขาดเลือดอาจจะฟังดูเป็นโรคที่เป็นการเฉพาะบุคคลแต่รู้หรือไม่ว่าในประชากรไทยพบว่าโรคหัวใจขาดเลือดคือสาเหตุของการเสียชีวิตที่ติด 1 ใน 4 อันดับของประชากรโลก และเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังถ้าหากอาการเกิดขึ้นแล้วทุกวินาทีอาจจะหมายถึงชีวิตที่อาจจะสูญเสียไปเมื่อไหร่ก็ได้นั่นเอง โรคหัวใจขาดเลือดหรือไม่ใช่โรคที่อยู่ไกลตัวเราอีกต่อไป ด้วยความที่โลกนี้เกิดขึ้นจาก ภาวะหลอดเลือดแข็งหรือภาวะหลอดเลือดตีบ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดชั้นในหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีไขมันไปผสมระหว่างหลอดเลือดจนทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตันก็จะทำให้เกิดอาการที่อวัยวะต่างๆของร่างกายขาดเลือดขึ้นได้นั่นเอง

อาการของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับโลกนี้จะมีอาการแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ผู้ป่วยบางรายอาจจะเจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยบางรายอาจจะรู้สึกเจ็บแบบจุกแน่นคล้ายกับมีอะไรมาบีบหรือกดทับบริเวณกลางอกเอาไว้ โดยที่อาการต่างๆมักจะลามไปที่คอหรือขากรรไกรรวมไปถึงไหล่ซ้าย และอาการจะหนักมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงที่ออกกำลังกายหรือทำงาน อาการต่างๆเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะคงอยู่นานประมาณ 2-3 นาทีหรืออาจจะมากกว่านั้น และจะหายไปเองเมื่อได้หยุดพักหรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการจุกแน่นใต้ลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อยจนทำให้บางคนอาจจะเข้าใจผิดระหว่างการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด กับอาการกรดไหลย้อน ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการใจสั่นและหอบเหนื่อยร่วมด้วย

โรคหัวใจขาดเลือดรักษาได้อย่างไร

ในส่วนของการรักษา หลังจากที่มีการตรวจอย่างแน่ชัดด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะเป็น การตรวจโดยให้ผู้ป่วยเดินออกกำลังกายบนสายพาน หรือการใส่สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ การฉีดดูตำแหน่งการติดตั้งของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ โดยที่แพทย์จะประเมินสภาวะความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคลและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยวิธีการเหล่านั้นคือ

  • ให้ยาขยายหลอดเลือดซึ่งมีชนิดชนิดรับประทานและให้ทางหลอดเลือดดำ
  • ให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดแข็งตัว เช่น ยาแอสไพริน
  • ให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจเพื่อลดการทำงานของหัวใจและลดการใช้ออกซิเจน

นอกจากนี้แล้วคนไข้จะต้อง ให้ความร่วมมือโดยการปฏิบัติตัวอย่าง ถูกต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางยาซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้รับผลตอบรับที่ดีและอาการ จะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ในภาวะที่ เป็นโรคนี้รุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยาแพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรืออาจจะพิจารณาผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดเพื่อให้เลือดเดินทางผ่านจุดที่อุดตันได้โดยใช้เส้นเลือดบริเวณแขนหรือขาแทน เป็นต้น