ไอเรื้อรังรักษาอย่างไรดี เรามีคำตอบให้

0
5181

ไอเรื้อรังรักษาอย่างไรดี เรามีคำตอบให้

อาการไอ มักมาควบคู่กับอาการไข้หวัด แต่ก็มีบางครั้งเหมือนกันที่ไออย่างเดียวไม่มีไข้ หรือไข้หายแล้ว แต่การไอยังไม่หาย และยังคงไอต่อเนื่อง ซึ่งหากมีอาการไอติดต่อกันเป็นเดือน-สองเดือน นั่นเรียกว่า มีอาการไอเรื้อรังแล้ว

สาเหตุที่ทำให้ไอเรื้อรัง

          การไอเกิดจากกลไกธรรมชาติของร่างกายในการปกป้องและต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม จึงจัดระบบขับเสมหะ เพื่อขับไล่เชื้อโรค แต่บางครั้งการไอที่เรื้อรังก็บอกเหตุร้ายของโรคภัยมากกว่านั้น ส่วนจะเป็นเพราะอะไรนั้นให้ดูที่อาการข้างเคียง

  1. การไอที่เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลง ถ้าสุขภาพเราไม่ดีพอ การต่อสู้สภาวะอากาศไม่ได้ ร่างกายจะบอกเหตุด้วยการไอ
  2. การไอที่เกิดจากมลภาวะที่รบกวนระบบร่างกาย การไอแบบนี้มักเป็นการไอที่ไม่มีเสมหะ
  3. การไอเพราะความเจ็บป่วยอย่างอื่น จนกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อของหลอดลม อาจเป็นเพราะใช้ร่างกายสมบุกสมบันจนเกินไป การไอแบบนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย

โทษของการปล่อยให้ไอเรื้อรัง

สูงสุดแห่งโทษภัยจากการไอเรื้อรังคงเป็นอาการของปอดอักเสบ แต่โทษภัยทั่วไป คือ

  1. รำคาญตัวเอง และเป็นที่รำคาญของคนรอบข้าง
  2. เป็นตัวการในการแพร่เชื้อโรคสู่อากาศ ทำให้คนรอบข้างรังเกียจ
  3. เป็นอุปสรรคในการสื่อสารกับผู้อื่น
  4. เสียบุคลิกภาพ

คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลตัวเอง

          หากไอเรื้อรังแล้ว ต้องมีการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุที่ทำให้เป็น เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้ถูกต้อง

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นการไอ โดยเฉพาะหากเกิดเพราะมลภาวะแวดล้อม ถ้าคุณยังไม่หลุดออกมาจากที่นั้น อาการไอเรื้อรังก็จะหายได้ยาก หลีกเลี่ยงเพื่อรักษาที่เป็นอยู่ให้หายขาด
  2. ดูแลสุขภาพ ร่างกายของคนเราจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและเยียวยาตัวเองได้ระดับหนึ่ง แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพียงพอ ถ้าปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอ จะรักษายาก ไม่ว่าโรคอะไร เพราะกลไกในร่างกายไม่ร่วมมือ
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลายคนไอเรื้อรังต่อเนื่องจากการตรากตรำทำงานหนัก นอนน้อย ซึ่งหากยังฝืนต่อไป ก็จะไอเรื้อรังไม่หายสักที เพราะสาเหตุยังคงอยู่ ฉะนั้น ตัดใจจากงานแล้วพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว
  4. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การไอที่มีจุดเริ่มต้นจากไข้หวัด บางครั้งเสมหะ น้ำมูก หายแล้ว แต่ไอแห้งๆ ยังมีอยู่ ร่างกายที่ขาดน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้มีอาการเรียกร้อง จึงควรดื่มน้ำสะอาดเข้าไปชดเชย
  5. กินยา ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาตามอาการ และสั่งให้ดูแลตัวเอง เพื่อให้หายในช่วงหนึ่งสัปดาห์

การป้องกันไม่ให้เป็นอีก

          สุขภาพที่แข็งแรงด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้พอเพียงจะช่วยป้องกันได้