ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือฉบับอ่านเข้าใจง่าย

0
12102

ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือฉบับอ่านเข้าใจง่าย

          ความดันโลหิตสูงสำหรับทุกคนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงร่างกายทุกส่วน ตั้งแต่สมองถึงอวัยวะต่างๆ ล้วนต้องอาศัยความดันในการขับเคลื่อน หากความดันโลหิตสูงเกินไป ผ่านสูงเส้นเลือด อาจมีผลกระทบเกิดอันตรายต่อร่างกายจนถึงเสียชีวิต เช่น เส้นเลือดในสมองแตก เป็นต้น โรคความดันโลหิตสูงจึงไม่ใช่โรคเล็กๆ ที่เราควรมองข้าม

สภาวะของความดันโลหิตสูง

          หมายถึง ในหลอดเลือดแดงของเรามีความดันสูงกว่าที่ควรจะเป็น และส่งผลต่อเนื่องไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะโรคแทรกซ้อนหลายโรค เริ่มต้นจากภาวะความดันโลหิตสูง

อาการของโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะปรากฏชัดเจนก็ต่อเมื่อมีอาการรุนแรงมากแล้ว เพราะคน ส่วนใหญ่ เวลามีอาการผิดปกติอะไรนิดหน่อยของร่างกายมักจะปล่อยผ่าน เพราะคิดว่า ไม่เป็นไร เช่น ปวดหัวก็กินยาแก้ปวด เหนื่อยง่าย ก็คิดว่าเป็นเพราะออกแรงมากเกินไป หรือเลือดกำเดาไหลก็คิดว่าเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง หรือเส้นเลือดเปราะ นิดหน่อยไม่เป็นไร สุดท้ายกว่าจะรู้ก็สายเกินไป

สิ่งที่ถูกต้องคือ ต้องเช็คสุขภาพประจำปี เพื่อรู้ค่าความดันและความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูง

  1. โรคความดันโลหิตสูงที่หาสาเหตุไม่ได้ เพราะจนถึงปัจจุบันทางการแพทย์ก็ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร
  2. เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด หรือปัญหาข้างเคียงของโรคต่างๆ หรือแม้แต่จากสารเสพติดก็ทำให้ความดันสูงได้

ความดันระดับไหนเป็นความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตจะปรากฏเป็นตัวเลข 2 ตัว ตัวบน เรียกว่า ค่าความดันซิสโตลิก ส่วนตัวล่าง เรียกว่า ค่าความดันไดแอสโทลิก ซึ่งคนที่มีความดันโลหิตปกติจะมีความดันที่ 120/80  มม.ปรอท ส่วนคนที่มีอาการความดันโลหิตสูงนั้นจะมีค่าความดันที่ต่างจากปกติคือ

ความดันโลหิตระหว่าง 140-159/90-99 เป็นความดันสูงระดับอ่อน

ความดันโลหิตระหว่าง 160-179/100-109 ความดันสูงระดับกลาง

ส่วนความดันสูงระดับรุนแรง ตัวบนจะสูงกว่า 180 และตัวล่างสูงกว่า 110

วิธีรับมือกับโรคความดันโลหิตสูง

  1. ควบคุมด้านอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง พวกผักผลไม้ และธัญพืชต่างๆและลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารที่มีโซเดียมสูง และกรดไขมันสูง
  1. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกวิธีที่ได้รับการรับรองแล้วว่าเหมาะสมและไม่เป็นอันตรายจากแพทย์ที่ดูแล
  3. หากแพทย์ที่รักษามีการจ่ายยา ต้องกินยาให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ต้องหมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คการเปลี่ยนแปลงหลังจากดูแลรักษาตามแต่แพทย์นัด