โรคอัลไซเมอร์คืออะไร พร้อมแนะนำแนวทางการดูแลตนเอง
อันตรายที่ถือได้ว่าเป็นภัยเงียบอีกประเภทหนึ่งก็คืออาการป่วยอัลไซเมอร์ ซึ่งถือว่าเป็นอีกชนิดของโรคสมองเสื่อม ที่เรียกว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นภัยเงียบก็เพราะว่ามันเป็นความผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นช้าๆโดยที่เราแทบไม่ทราบสาเหตุ อาการเหล่านี้ทำให้เซลล์ประสาทของสมองตายไปเป็นจำนวนมากความสามารถของสมองจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในส่วนของความจำความรอบรู้และความเฉลียวฉลาด การคิดอย่างมีเหตุผลจะค่อยๆลดน้อยลงไป ความสามารถในการตัดสินใจจะเป็นไปในทางที่แย่ลง พฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่ออาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะมีอาการทางจิตประสาทและแน่นอนว่ามันย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์อย่างแน่นอน
อาการระยะเริ่มแรกของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มักจะมีอาการแต่ไม่ชัดเจนมากนักจนแทบจะสังเกตไม่เห็น ผู้ป่วยในช่วงแรกนี้จะสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติแต่จะเริ่มมีอาการผิดปกติบางอย่างเพียงแค่เล็กน้อย อย่างเช่นการทำงานที่ผิดพลาดบ่อยขึ้น อาการหลงๆลืมๆ อาการย้ำคิดย้ำทำเพราะลืมว่าตัวเองทำไปแล้ว ความสามารถและความมั่นใจในตัวเองเริ่มลดลง สิ่งที่เคยทำได้กลับทำไม่ได้เท่าที่ควร ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องง่ายๆที่เคยทำได้ เช่น ติดตะขอกางเกงหรือกระโปรง ติดกระดุมเสื้อ ใช้ช้อนรับประทานอาหาร หรือบางครั้งนึกไม่ออกว่าสวมเสื้อแล้วจะต้องติดกระดุมอย่างไร หรือสวมกระโปรงแล้วนึกไม่ออกว่าจะต้องรูดซิปขึ้นมาอย่างไร เป็นต้น ผู้ที่มีอาการต่างๆเหล่านี้ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นานอาการต่างๆเหล่านี้จะค่อยๆทรุดลงเรื่อยๆจนอาการหนักขึ้นถึงขั้น จำชื่อคนไม่ได้ จำสถานที่ต่างๆไม่ได้ จำบุคคลในครอบครัวไม่ได้ บวกลบเลขง่ายๆไม่ได้ แต่ชอบทำอะไรตามใจตัวเองยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล อารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย ในที่สุดจนถึงระยะที่หนักขึ้น ผู้ป่วยจากเริ่มไม่รู้แล้วว่า สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าเรียกว่ามีด สิ่งนั้นเรียกว่าช้อน สิ่งนี้เรียกว่าแก้วน้ำ เป็นต้น
การดูแลตัวเองก่อนเป็นอัลไซเมอร์
- หมั่นบริหารสมองอยู่เรื่อยๆ เช่น อ่านหนังสือเป็นประจำ ทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดใช้สมองเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองได้ฝึกทำงานอยู่เสมอ
- ดูแลสุขภาพจิตให้ดี ฝึกเป็นคนคิดบวก อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียด เรื่องใดเล็กๆน้อยๆ ปล่อยให้ผ่านได้ก็ปล่อยให้ผ่านไป
- ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลทั้งต่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ช่วยให้ออกซิเจนไหลเวียนทั่วร่างกายและออกซิเจนจะไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
- สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปควรเริ่มตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ เพื่อหาแนวโน้มและความน่าจะเป็น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับการรักษาดูแลอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งโรคนี้มีโอกาสยับยั้ง ไม่ให้อาการหนักไปจนถึงระยะสุดท้ายได้