ข้อเข่าเสื่อม สัญญานอันตรายที่ต้องระวัง

0
13036

ปวดเข่าสัญญานอันตรายข้อเข่าเสื่อม ลดการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไรมีคำตอบ
– สำหรับโรคอีกชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้บ่อย ในผู้ที่มีอายุสูงวัย นั่นก็คือโรคข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง โดยโรคนี้เกิดขึ้นจากการสึกหรอ และเสื่อมของกระดูกอ่อน บริเวณข้อกระดูก ทำให้ปริมาณของไขข้อกระดูกลงลง จนทำให้กระดูกแข็งเกิดการเสียดสีกัน จนส่งผลให้มีอาการปวด บวม และมีการอักเสบ ในรายที่เป็นมากๆ จะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด

กลุ่มคนที่เสี่ยง ต่อการเป็นข้อเข่าเสื่อม ได้แก่
– บุคคลที่มีอายุเกิน 40 ปี ขึ้นไป , ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน , ผู้ที่ต้องทำงาน ที่ต้องเดินอยู่ตลอดเวลา หรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนักอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น โดยนอกจากนี้ยังมีการพบว่า ในเพศหญิงมักมีอาการข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า เพราะร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมไขกระดูกส่วนที่สึกหรอได้ดีเท่ากับผู้ชายนั่นเอง

– สำหรับอาการ ของโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยมักจะรู้สึกว่าเข่ามีเสียงดังกรอบแกรบ ระหว่างการเคลื่อนไหว มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า เวลาเดิน หรือนอน นอกจากนั้นยังอาจมีอาการบวม หรืออักเสบที่ข้อเข่า หากมีอาการรุนแรงจะไม่สามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวได้เลย

การรักษาอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีวิธีการรักษาได้ดังต่อไปนี้
– ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำรงชีวิต เพื่อลดการทำงานอย่างหนักของข้อเข่า โดยเฉพาะการลดน้ำหนัก ไม่ให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะจะเป็นการลดภาระของข้อเข่าได้อย่างดีเลยทีเดียว

– การปลูกถ่ายกระดูกอ่อน เป็นวิธีการที่แพทย์ จะเก็บตัวอย่างของชิ้นเนื้อกระดูกอ่อน เพื่อไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการณ์ จนมีเพียงพอต่อการปลูกถ่าย โดยมากใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ในการเพาะเลี้ยง ต่อมาผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายโดยเซลล์กระดูกอ่อนที่ทำการเพาะเลี้ยง จะเข้าไปช่วยซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนที่เสื่อมไป

– การรักษาโดยการเติมสารอาหาร ที่ช่วยในการดูแลข้อเข่า โดยมักจะเป็นสารที่ช่วยลดการสลายตัวของกระดูกอ่อน เช่น คอนดรอยดินซัลเฟต กลูโคซามีน ซัลเฟต หรือ คอลลาเจนประเภทที่ 2 เป็นต้น

– การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ เป็นการรักษาที่ช่วยในการบรรเทาความเจ็บปวด ของโรคข้อเข่าเสื่อม แต่มักจะมีข้อจำกัด และมีความเสี่ยง ในการผ่าตัดอยู่มากพอสมควร นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย

– การรักษาโดยการใช้น้ำร้อน หรือน้ำเย็นช่วยประคบ โดยการรักษาวิธีนี้ จะเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเท่านั้น

– หากมีอาการปวดไม่รุนแรงมากนัก อาจจะมีการรักษาด้วยการกินยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ โดยยาที่นิยมใช้กันคือยาพาราเซตามอล และไม่นิยมให้ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์