ไวรัสอีโบลาคืออะไร ป้องกันอย่างไร

0
10225

มาทำความรู้จักเชื้อไวรัสอีโบลา พร้อมเรียนรู้วิธีการป้องกันเบื้องต้น

– ไวรัสอีโบล่า หรือโรค อีโบล่า เป็นโรคในกลุ่มของไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยในต่างประเทศ โดยมีการแพร่ระบาดอย่างมากในทวีปแอฟริกา ซึ่งเชื้ออีโบล่านี้ จะแพร่จากคนสู่คน ผ่านทางน้ำมูก เหงื่อ เลือด น้ำอสุจิ ตลอดจนสารคัดหลั่งต่างๆ ซึ่งเมื่อติดเชื้อนี้เข้าไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในที่สุด เพราะยังไม่มีการคิดค้นวัคซีนที่รักษาโรคนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ การรักษาในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น

– อาการของโรคอีโบล่านี้ จะมีระยะในการฟักตัว 2-21 วัน ในระยะแรกผู้ป่วย มักจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน มีเหงื่อออกมาก ปวดเมื่อเนื้อตัว ปวดศีรษะ ต่อมาจะมีอาการอาเจียน มีผื่นนูน ตตามด้วยอาการเลือดออกตามเยื่อบุทั่วร่างกาย อาการขั้นสุดท้ายคือระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต ล้มเหลว มีการช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

– การรักษาอีโบล่านั้น จะทำการรักษาตามอาการ เพราะยังไม่มีวัคซีน ที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ออกมาโดยเฉพาะ โดยการรักษาจะเน้นการให้เกลือแร่ และน้ำ ตลอดจนยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะโรคนี้ จะมีการแข็งตัวของลิ่มเลือด ซึ่งเนสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายของผู้ป่วยทำงานล้มเหลว และหากผู้ป่วยอยู่ในขั้นที่เริ่มมีเลือดออกตามผิวหนัง แพทย์ก็จะรักษาโดยการให้ยาช่วยในการแข็งตัวของเลือด

สำหรับการป้องกัน โรคอีโบล่า สำหรับประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่เข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อชนิดนี้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

– ควรหลีกเหลี่ยง การสัมผัสกับตัว หรือซาก ของสัตว์ป่า ที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศอย่างเด็ดขาด เพราะเชื้ออีโบล่า สามารถที่จะแพร่ผ่านทางซากสัตว์เหล่านี้ได้

– ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ประกอบจากสัตว์ ที่ไม่น่าไว้ใจ จำพวกเมนูแปลกๆ เช่น ลิง ค้างคาว ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้ออีโบล่าได้เช่นกัน

– หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำมูก น้ำลาย ตลอดจนศพ ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคอีโบล่า อย่างเด็ดขาดเพราะเชื้อจะติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งเหล่านั้น

– ไม่ควร สัมผัสตัวผู้ป่วยอย่างเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงเช่นกัน

– ในการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการติดเชื้อโรคอีโบล่า (เพื่อปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย) ควรมีการสวมชุดป้องกันเชื้อ ในการสัมผัสตัวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าว

– หากพบว่ามีอาการปวดหัว อาเจียน ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก ท้องเสีย มีผื่นนูนแดงงขึ้นตามผิวหนัง ให้รีบพบแพทย์ทันที

– หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ไม่ควรเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง