กระดูกทับเส้นเกิดจากอะไร แนะนำวิธีการป้องกันที่คุณต้องรู้

0
8676

กระดูกทับเส้นเกิดจากอะไร แนะนำวิธีการป้องกันที่คุณต้องรู้

กระดูกทับเส้น เป็นอีกโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ทรมานให้คนที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากการที่หมอนรองกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังเมื่อกดทับเส้นประสาทแล้วจะทำให้ปวดและร้าวไปทั่ว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก เพราะจะเจ็บปวดตลอดเวลา ทำลายความสุขในชีวิตประจำวัน ปล่อยไว้ก็ลำบาก จะผ่าตัดก็มีความเสี่ยงสูงกับการกลายเป็นคนพิการ หากไม่อยากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ เราควรทำความรู้จักและป้องกันตัวเองไว้ดีที่สุด

กระดูกทับเส้นเกิดจากสาเหตุอะไร

กระดูกทับเส้นที่เราคุ้นหูกันนั้น ไม่ใช่กระดูกทั้งชิ้นหรือข้อใดข้อหนึ่งทับเส้นประสาท แต่หมายถึง 1. ส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังมีการ โป่งออกจากตำแหน่งเดิมแถวกระดูกสันหลังทำให้ไปเบียดทับกับเส้นประสาทที่มีอยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง ชิ้นที่ L3 L4 L5 S1

  1. เกิดจากเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดแล้วของเหลวที่มีอยู่ข้างในไปกดทับเส้นประสาทที่มีอยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง

ทำไมจึงเกิดเหตุดังกล่าว

  1. เนื่องจากหมอนรองกระดูกเสื่อม เพราะถูกกดทับ จะพบมากในคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  2. เกิดจากธรรมชาติของบางคนที่หมอนรองกระดูกไม่แข็งแรงพอ เวลาถูกแรงปะทะหรือกระทบแบบฉับพลัน ก็อาจทำให้หมอนรองกระดูกโป่งและฉีกจนของเหลวภายในออกมาเบียดเบียนเส้นประสาทได้

กระดูกทับเส้นมีอาการอย่างไร

อาการของกระดูกทับเส้นนั้น มีตั้งแต่ลางบอกเหตุจนถึงขั้นเคลื่อนไหวอิริยาบถปกติไม่ได้ อาการกระดูกทับเส้นมักเป็นอยู่สองที่ คือ บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว และบริเวณคอ

  1. เริ่มปวดหลัง ปวดเอว แบบเป็นๆ หายๆ คือ รู้สึกแบบเจ็บแปล๊บขึ้นมา ซึ่งจะดีขึ้นได้หากมีการพักผ่อน
  2. ปวดหลังแบบฉับพลัน มีอาการแบบร้าวไปทั้งหลัง ลามลงไปด้านล่าง จนอาจมีอาการชาตามขา น่องจนถึงเท้าได้

การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคกระดูกทับเส้น

เนื่องจากอิริยาบถในชีวิตอาจส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้ จึงควรระวังในเรื่องต่อไปนี้

  1. ระวังเวลายกของหนักเกินกำลัง เพราะเราไม่รู้ว่า หมอนรองกระดูกของเราอ่อนแอหรือไม่ อาจเกิดผิดพลาดทำให้ของเหลวภายในทะลุออกมาทับเส้นประสาทได้
  2. ระวังเวลาออกกำลังกาย เพราะการบิดตัวอย่างรวดเร็ว ก็มีแนวโน้มให้เกิดโรคได้
  3. ระวังเรื่องท่านั่งที่ต้องอยู่ในอิริยาบถ กระดูกกดทับนานๆ ไม่ว่าจะเป็นการต้องขับรถประจำ หรือทำงานนั่งโต๊ะในออฟฟิศ
  4. ในผู้สูงอายุต้องระวังเรื่องการล้ม
  5. สตรีมีครรภ์ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะช่วงตั้งครรภ์นั้น ช่วงบริเวณครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นทำให้กระดูกโค้งผิดจากธรรมชาติอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นช่วงที่ร่างกายอาจขาดแคลเซี่ยม กระดูกไม่แข็งแรงเท่าเดิม การระวังการเคลื่อนไหวต้องมีเป็นพิเศษ