โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษาในเบื้องต้น

0
2598

โรคสมาธิสั้น เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษาในเบื้องต้น

          เมื่อพูดถึงคนที่มีสมาธิสั้น เรามักจะนึกถึงคนที่อยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรแบบต่อเนื่องได้ไม่นาน แต่หากเป็นในระดับที่เรียกว่า โรคสมาธิสั้น จะมีอาการแวดล้อมอย่างอื่นอีก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการสื่อสาร การเข้าสังคม ฯลฯ ลองมารู้จักโรคนี้ให้ดีขึ้นดีกว่า

ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคมักปรากฏตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก ซึ่งสังเกตได้ง่ายกว่า เพราะเด็กจะแสดงพฤติกรรมชัดเจน เช่น ไม่อยู่นิ่ง การขาดสมาธิในการจดจ่อหรือตั้งใจทำสิ่งใด วอกแวกง่าย ตื่นตัวตลอด และพูดมาก ใจร้อน เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ

 สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น

มีหลายสาเหตุดังนี้

  1. พันธุกรรมหากพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสเป็นมากขึ้นเนื่องจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  2. มีความผิดปกติทางโครงสร้างสมองอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางคนเกิดขึ้นขณะอยู่ในครรภ์ บางคนเริ่มผิดปกติตอนเป็นทารก
  3. เกิดจากสมองได้รับสารพิษที่ถ่ายทอดจากมารดาขณะอยู่ในครรภ์ เช่น แม่ที่สูบบุหรี่ หรือเสพสารเสพติด หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษรวมถึงกรณีครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด
  4. เกิดขึ้นภายหลังจาสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษเช่น ได้รับสารพิษหรือสารเคมีเกินปริมาณ

แนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้น

  1. ใช้ยาเพื่อรักษาโรค เป็นยาประเภทที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง กับกลุ่มยาที่ช่วยลดการดูดกัลป์ของสารนอร์อะดรีนาลีน ที่ช่วยควบคุมอาการไม่อยู่นิ่งของคนที่เป็นโรค
  2. ใช้หลักการบำบัดคือมีการใช้ยาควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วย
  3. อาหารช่วยรักษาโรคเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีที่ส่งผลต่อโรค จึงจำเป็นต้องเลือกอาหารที่มีประโยชน์และไม่ไปกระตุ้นให้มีอาการมากขึ้น เช่น อาหารประเภทคาเฟอีน มีส่วนทำให้คนเราขาดสมาธิ

การป้องกันโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ  การป้องกันนั้นจึงเป็นไปในลักษณะลดความเสี่ยง ไม่ใช่ป้องกันได้อย่างเด็ดขาด กล่าวคือ การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ ไม่ให้สิ่งที่แม่ทำกระทบถึงภาวะสมองของทารกในครรภ์ ดังนี้

  1. ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ ให้งดการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราหรือสารเสพติดทุกชนิด รวมถึงยานอกเหนือจากคำสั่งแพทย์ด้วย
  2. ดูแลตัวเองไม่ให้สัมผัส หรือเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมี หรือมลพิษที่อาจกระทบถึงเด็กในครรภ์
  3. ดูแลเอาใจใส่ลูกหลานที่ยังเล็กเป็นอย่างดี ทั้งในแง่ความปลอดภัย พัฒนาการ หรือหากมีอาการผิดสังเกต ให้รีบแก้ไข ไม่ปล่อยให้เป็นโรคสมาธิสั้นที่มีอาการหนักขึ้น

ความเข้าใจจะทำให้คนที่เป็นโรคสมาธิสั้น อยู่ร่วมกันในสังคมได้